หลังจากที่คว้าแชมป์กัลโช่ เซเรีย อา ฤดูกาล 2021-22 มาได้สด ๆ ร้อน ๆ เอซี มิลาน ก็ประกาศเปลี่ยนมือเจ้าของทันที โดยกลุ่มบริษัทลงทุนสัญชาติอเมริกัน ได้เข้ามาซื้อทีมด้วยราคาถึง 1.2 พันล้านยูโร (ราว 44,000 ล้านบาท)
ทว่าหลังจากที่มีการยืนยันเรื่องดังกล่าวกลับเป็นที่กังวลใจของแฟนบอลรอสโซเนรี่ เพราะพวกเขาคิดว่าสโมสรกำลังเดินมาในเส้นทางที่ถูกต้องหลังจากหลงทางมานาน และกลัวว่าเจ้าของคนที่ 4 ในรอบ 5 ปีอาจจะพาทีมถอยหลังกว่าที่เป็นอยู่ เอาเงินมากขนาดนั้นมาจากไหน ? พวกเขาเคยทำอะไรมาก่อน ? และมอง เอซี มิลาน ธุรกิจใหม่ของพวกเขาไปในทิศทางไหน ?
อเมริกันคอนเน็กชั่น คือกลุ่มบริษัทลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ที่มีหุ้นในกลุ่มทุน ซึ่งเป็นเป็นเจ้าของทีมลิเวอร์พูล ทีมดังแห่งพรีเมียร์ลีก อังกฤษ และทีมเบสบอลดังใน MLB อย่าง บอสตัน เรดซ็อกซ์
การซื้อทีมฟุตบอลในยุโรปไม่ใช่เรื่องใหม่ของกลุ่มทุนอเมริกาอีกแล้ว นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000s ที่ตระกูลเกลเซอร์ ได้ซื้อหุ้นสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และทำให้นักธุรกิจทั่วโลกได้เห็นแล้วว่าวงการฟุตบอลนั้นมีเงินสะพัดมากมายขนาดไหน
กลุ่ม เองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เห็นศักยภาพของวงการฟุตบอลยุโรป โดยเฉพาะทีมอย่าง เอซี มิลาน ที่กลุ่มทุนเดิมอย่าง เพิ่งบริหารทีมจนสามารถคว้าแชมป์กัลโช่ เซเรีย อา ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2011
การขายหุ้นแทบทั้งหมดที่ ถือครองให้กับ คือสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน เนื่องจาก เข้ามาบริหารทีมตั้งแต่ปี 2018 ต่อจากนักธุรกิจชาวจีนที่ชื่อว่า หลี่ หยงหง ซึ่งกู้เงินจากบริษัทของพวกเขา และค้างชำระกว่า 300 ล้านยูโร
ย้ำอีกครั้งว่าการเข้ามาบริหาร เอซี มิลาน ของ ไม่ใช่การซื้อหุ้น แต่เป็นการเข้ายึดกิจการจากเจ้าของเดิมที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก่อนที่พวกเขาจะทำสำเร็จอย่างงดงามทั้งในและนอกสนาม
“ในวันที่ได้เข้ามาบริหารเอซี มิลาน ในปี 2018 เราอยากเข้ามาสืบทอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของสโมสร แต่ทีมมีปัญหาทางการเงินอย่างร้ายแรงและมีผลงานในสนามที่ย่ำแย่หนักมาก” กอร์ดอน ซิงเกอร์ หนึ่งในหุ้นส่วนใหญ่
“เราเข้ามาและได้เปลี่ยนผ่านทีม ๆ นี้สู่บทต่อไปอย่างน่าทึ่ง เราเคารพ ถ่อมตน และภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวมิลานแห่งนี้” หนึ่งในผู้ถือหุ้นของ จากวันที่พวกเขาได้สโมสรมาด้วยเงินราว ๆ 300 ล้านยูโร พวกเขาพยายามประคับประคองตัวเลขในบัญชีไปพร้อม ๆ กับผลงานในสนาม มีการเปลี่ยนทีมบริหารใหม่ แต่งตั้งตำนานนักเตะอย่าง เปาโล มัลดินี่ และ เฟรเดริก มาซซารา อดีตผู้อำนวยการกีฬาของโรม่า เข้ามาดูแลเรื่องการซื้อขายนักเตะในตำแหน่ง ผอ.กีฬา แทนที่ของ เลโอนาร์โด้ ที่นั่งในตำแหน่งนี้ยุค หลี่ หยงหง และเป็นคนที่มีส่วนอย่างมากในการแนะนำให้สโมสรทุ่มเงินมากมายเพื่อนักเตะชื่อดัง อาทิ เลโอนาร์โด้ โบนุชชี่, อังเดร ซิลวา, ริคาร์โด้ โรดริเกซ และอีกหลายคน รวมเป็นเงินเกือบ ๆ 200 ล้านยูโร
ทว่าเมื่อเปลี่ยนมาเป็นยุคของ มัลดินี่ และ มาซซารา วิธีการซื้อตัวของมิลานก็เปลี่ยนไป พวกเขาเน้นไปที่นักเตะอายุน้อยที่มีแววว่าจะเก่งขึ้นและอาจมีราคามากขึ้นในอนาคต อาทิ ราฟาเอล เลเอา, เตโอ แอร์กนองเดซ และ ซานโดร โตนาลี่ ซึ่งนักเตะพวกนี้ ณ ปัจจุบันมีราคาพุ่งกว่าตอนที่มิลานซื้อมาเกิน 2 เท่าทั้งสิ้น
เมื่อหลังบ้านดีในสนามก็ดีตาม มิลาน ได้โค้ชอย่าง สเตฟาโน่ ปิโอลี่ ที่ตอนแรกผลงานไม่ดีนักจนมีข่าวจะโดนเปลี่ยนตัวเอา ราล์ฟ รังนิก เข้ามาแทน แต่สุดท้ายกลุ่ม ก็เชื่อในทีมงานโค้ชและนักเตะ พวกเขาให้โอกาสปิโอลี่คุมทีมต่อไป จนในที่สุดก็สามารถคว้าแชมป์ เซเรีย อา ที่รอคอยมาได้สำเร็จ
เมื่อมีความสำเร็จและในทีมเต็มไปด้วยนักเตะที่มีอนาคต มูลค่าของสโมสรก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นก็ได้เวลาที่ ที่เข้ามาดูแลสโมสรในฐานะเจ้าหนี้ จะเวลาส่งต่อมิลานให้กับกลุ่มทุนที่มีงบประมาณมากกว่า และท้ายที่สุด พวกเขาได้ส่งมอบกิจการให้กับเพื่อนร่วมสัญชาติอย่าง ที่คุยกันมาพักใหญ่ ด้วยมูลค่ากว่า 1,200 ล้านยูโร (44,000 ล้านบาท) เรียกได้ว่าเป็นการส่งต่อสโมสรโดยที่พวกเขาได้กำไรมากกว่าเดิมถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
“ผมอยากจะขอบคุณ กอร์ดอน ซิงเกอร์ และทีมงาน ทั้งหมดสำหรับการทำงานอันยิ่งใหญ่ที่พวกเขาได้ทำในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาในการสร้างมิลานขึ้นมาใหม่ และนำมันกลับคืนสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องคือบนสุดของเซเรีย อา” เจอร์รี่ คาร์ดินัล ผู้ก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการ กล่าวหลังจากเทคโอเวอร์สโมสร
ความกังวลเมื่อเปลี่ยนเจ้าของแน่นอนว่าเมื่อมีเจ้าของเป็นอเมริกันก็จะมีปัญหาที่ทำให้แฟนบอลต้องกังวลอยู่บ้าง เนื่องจากเจ้าของสัญชาติอเมริกันนั้นมักขึ้นชื่อเรื่องการลงทุนน้อยแต่หวังผลกำไรมาก กล่าวคือทีมอาจจะไม่ได้เห็นการซื้อสตาร์ดังเบอร์ต้น ๆ ของโลกแต่จะเน้นไปที่นักเตะอายุน้อยที่ต่อยอดได้มากกว่า ปัจจัยหลัก ๆ ก็เพื่อปั้นและขายต่อทำกำไรในอนาคต
ตัวของ คาร์ดินัล เองอาจจะเป็นหน้าใหม่สำหรับวงการฟุตบอล แต่สำหรับวงการกีฬาเขาคือมือเก๋าที่บริหารทีมกีฬาระดับโลกมาแล้วมากมายตลอด 25 ปีที่ผ่านมา
เขาคือผู้บริหารทีมฮอกกี้ในศึก NHL อย่าง พิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์ แน่นอนในฐานะหนึ่งผู้ถือหุ้นของ FSG เขายังนับว่าเป็นผู้ถือหุ้นของสโมสรลิเวอร์พูล และบอสตัน เรดซ็อกส์ ดังที่กล่าวเอาไว้ในข้างต้นอีกด้วย ซึ่งทุกสโมสรที่กล่าวมาก็ล้วนได้รับความสำเร็จสูงสุดทั้งสิ้นในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คาร์ดินัล ก็ให้สัมภาษณ์ถึงการลงทุนในอนาคตของเขาว่า นอกจากที่เขาจะซื้อ เอซี มิลาน แล้ว เป้าหมายสำคัญที่สุดของเขาคือการซื้อทีมบาสเกตบอล NBA ซึ่งเขาคิดว่านั่นคือ “ความสำคัญสูงสุด” หากให้จัดลำดับ
“มันจะต้องเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังมากหากเราไม่ลงทุนเพิ่มเติม เพราะนั่นคือสิ่งที่เราทำมาตลอด เรามีโอกาสอย่างมากในทุกบทบาทสำคัญของวงการกีฬา” คาร์ดินัล ตอบสื่อในฐานะผู้ถือหุ้นของ FSG ขณะที่ในส่วนของ นั้นคือการลงทุนส่วนตัวของเขาที่เขาจ่ายเงินซื้อหุ้นบริษัทเพื่อบริหารเองด้วยเงินจำนวนถึง 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คาร์ดินัล ดูเหมือนจะเป็นนักธุรกิจอเมริกันเต็มตัว คือมองภาพกว้างที่ใหญ่กว่าแค่ตำแหน่งแชมป์ แต่เขาจะเห็นโอกาสทางธุรกิจของวงการกีฬา นั่นเป็นเหตุให้ มีกิจการมากมายทั้งการรับเดิมพันกีฬาทุกประเภท ธุรกิจด้านบันเทิง การจัดการแสดงสด สื่อ และบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล เรียกได้ว่าทุกอย่างที่เกี่ยวกับกีฬา มีเส้นสายทางธุรกิจทั้งหมด
ภาพของ คาร์ดินัล ผู้นำ จึงดูไม่น่าไว้วางใจสำหรับแฟนบอล เขามักชอบพูดเรื่องตัวเลขและโอกาสในการสร้างทรัพย์สินจากวงการกีฬาอยู่เสมอ มีนักธุรกิจอเมริกันแบบนี้หลายคนที่ทำทีเหมือนหน้าใหญ่มือเติบแต่ที่สุดแล้วก็ปู้ยี่ปู้ยำสโมสรฟุตบอลในยุโรปจนเละเทะ
ที่อังกฤษอาจจะมี ลิเวอร์พูล ในยุคของ ทอม ฮิคส์ และ จอร์จ ยิลเล็ตต์ ที่บริหารทีมหงส์แดงจนเกือบล้มละลาย นอกจากนี้ยังมี แมนฯ ยูไนเต็ด ที่เป็นตัวอย่างถึงความล้มเหลวในขีดสุดจากการบริหารของตระกูลเกลเซอร์ นอกจากนี้ที่อิตาลีก็ยังมีทีมที่มีเจ้าของเป็นอเมริกันและใช้นโยบายซื้อมาปั้นเป็นหลักทั้ง ฟิออเรนติน่า และ อตาลันตา ซึ่งเป็นทีมที่เกาะโซนบน ๆ ของตารางได้ตลอดแต่ก็ไม่เคยมีความสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน นั่นคือสิ่งที่แฟนบอลมิลานกลัวว่าทีมอาจจะถอยหลังยิ่งกว่าเดิม
มิลาน คืองานพิสูจน์ตัวเองเอซี มิลาน คือสโมสรฟุตบอลแรกที่อยู่ในสังกัดของ ที่นำทัพโดยคาร์ดินัล วันที่เขามีข่าวกับทีมแรก ๆ แฟนมิลานแสดงความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาต่างเชื่อว่าในวันที่กลุ่ม บริหารงานนั้น มิลานอยู่บนทิศทางที่ถูกต้องแล้ว และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเจ้าของแต่อย่างใด
ทว่านี่คือโลกของธุรกิจอย่างเต็มตัว เมื่อได้กำไรมากกว่าตอนที่ซื้อมา 3 เท่า ความกลัวของแฟนบอลมิลานก็ไม่อาจต้านทานกลุ่มทุน ให้เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรได้ ดูเหมือนประสบการณ์ของคาร์ดินัลในการบริหารทีมกีฬาจะช่วยในเรื่องนี้ได้ไม่น้อย เขารับรู้ถึงความกังวลของแฟนบอลเป็นอย่างดี นั่นจึงทำให้เขาออกตัวตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของทีมว่า หากเขาได้เข้ามาบริหารเขาจะไม่ทำให้แฟนบอลของมิลานต้องผิดหวังและกลับไปอยู่ในยุคเก่า ๆ เหมือนในช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้
คาร์ดินัล เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยก่อนที่ จะเทคโอเวอร์สโมสรสำเร็จ พวกเขาได้เข้าประชุมกับบอร์ดบริหารของมิลานอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้บริหารที่มีผลกับโครงสร้างในสนามของทีมอย่าง มัลดินี่ และ มาซซารา ซึ่งถือเป็นคนที่ คาร์ดินัล ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ถึงขั้นที่ว่าเขายืนยันจะต่อสัญญาให้กับ มัลดินี่ ที่กำลังจะหมดลงในปี 2022 ตั้งแต่ก่อนฤดูกาล 2021-22 จะจบด้วยซ้ำ
“กับมัลดินี่ ผมยืนยันได้ว่าเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของสโมสร และเราจะก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน … ผมมาอยู่ที่นี่ไม่ใช่แค่เพื่อเข้ามารับประกันเรื่องการเงินของสโมสรเท่านั้น แต่ผมต้องการที่จะชนะ” คาร์ดินัล กล่าวตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของทีม
“ตอนที่ผมเริ่มต้นทำงานด้านกีฬามันแตกต่างไปจากปัจจุบัน เพราะตอนนี้โลกของกีฬามันต้องไปด้วยกันหมดทั้งเรื่องของธุรกิจและการลงทุน แน่นอนว่าท้ายที่สุดแล้วปลายทางของทั้งหมดคือการเป็นผู้ชนะในคราวเดียวกันด้วย ผมสัญญาว่าจะสร้างอนาคตต่อยอดจากความสำเร็จด้วยความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง”
ด้านสื่ออิตาลีอย่าง ก็ได้สัมภาษณ์คาร์ดินัล และสรุปความออกมาว่า เจ้าของใหม่ของ เอซี มิลาน มีแผนในการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับสโมสรโดยใช้แนวทางเดียวกับทีมเบสบอลอย่าง นิวยอร์ก แยงกีส์ ซึ่งเป็นทีมกีฬาที่มีมูลค่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
กล่าวคือ แยงกีส์ มีวิธีบริหารครบวงจรแบบที่ไม่ได้เป็นแค่ทีมกีฬาแต่เป็นเหมือน ที่ผสานกีฬาและกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งคอนเสิร์ต เชียร์ลีดเดอร์ การแจกของที่ระลึก รวมถึงกิจกรรมอีกมากมายทั้งในและนอกสนาม ที่สามารถดึงดูดผู้ชมให้เข้าไปชมเกมในสนาม รวมถึงชมการถ่ายทอดสดตลอดการแข่งขัน
โดยพื้นฐานของ แยงกีส์ และ มิลาน นั้นคล้าย ๆ กัน นั่นคือมีประวัติศาสตร์และความสำเร็จในอดีตที่ทำให้พวกเขามีฐานของแฟน ๆ ที่แข็งแกร่ง พวกเขาตั้งใจจะต่อยอดด้วยความสำเร็จในสนามและเติมเรื่องการตลาดเพื่อยกระดับมูลค่าของสโมสรไปในเวลาเดียวกัน
“เป้าหมายของทีมคือการได้แข่งขันในระดับสูงสุด (ณ ที่นี้หมายถึงยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก) เพื่อช่วยให้ทีมบรรลุถึงระดับความนิยมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกับที่ นิวยอร์ก แยงกีส์ ทำ และพวกเราจะร่วมมือกับ ที่ยังมีหุ้นส่วนหนึ่งของสโมสรอยู่ในมือ การรวมมือกันนี้คือสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในวงการฟุตบอลอิตาลีมาก่อน”
นอกจากนี้พวกเขายังอธิบายเพิ่มอีกว่า สิ่งที่ คาร์ดินัล ต้องการคือการให้ มิลาน มีสนามเหย้าเป็นของตัวเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น แม้สองทีมเมืองมิลาน ทั้ง เอซี มิลาน และ อินเตอร์ มิลาน มีแผนร่วมกันสร้าง ซาน ซิโร่ รังเหย้าแห่งใหม่ในพื้นที่เดิม
โดยเขาได้เข้าพบกับ โรแบร์โต้ ดิ สเตฟาโน่ นายกเทศมนตรีเขตเซสโต ซาน โจวานนี่ ในเมืองมิลาน เพื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ของแผนงานนี้แล้ว คาดว่าเป้าหมายคือพื้นที่ของโรงงานเหล็กเก่าที่ชื่อว่า Falck พวกเขาตั้งใจจะซื้อที่ดินตรงนี้ เพราะเชื่อว่าหากเป็นที่ดินส่วนตัวจะช่วยลดขั้นตอนความล่าช้าของทางรัฐได้ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้อยู่ เพราะเดิมทีพื้นที่นี้เป็นของเอกชนอยู่แล้ว และเขตเซสโต ซาน โจวานนี่ ก็ยินดีต้อนรับเมกะโปรเจ็กต์นี้เช่นกัน แม้ว่ามันอาจเป็นโปรเจ็กต์ร่วมกันของสองทีมแห่งเมืองมิลานตามเดิมก็ตาม
นั่นคือสิ่งที่ วางแผนไว้ มันคือแนวทางที่คล้าย ๆ กับสโมสรชั้นแนวหน้าอื่น ๆ ในยุโรปที่ทำการสร้างแบรนด์ของสโมสรให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม มีการจัดการและบริหารที่สามารถเพิ่มรายได้ให้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำมาซึ่งกำไรที่เพิ่มขึ้น และกำไรเหล่านี้จะถูกส่งกลับไปพัฒนาทีมในส่วนต่าง ๆ หรือเรียกว่าเป็นการทำให้ เอซี มิลาน กลับมาติดตลาดอีกครั้ง หลังจากเคยทำได้มาแล้วในยุคที่ ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี่ เป็นประธานสโมสร เพียงแต่ว่าในยุคของเจ้าของอเมริกันพวกเขาจะผลักดันเรื่องนอกสนามและเรื่องธุรกิจมากขึ้นนั่นเอง
ท้ายที่สุดแล้วทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือการเอาอดีตการบริหารงานด้านกีฬาของพวกเขาและการสรุปจากวิสัยทัศน์ที่เขาบอกผ่านสื่อมาอ้างอิงเท่านั้น ของจริงกำลังจะเริ่มหลังจากนี้ เอซี มิลาน มาถูกทางแล้วในปีที่ผ่านมา แต่เราคงต้องมาคอยดูกันว่าพวกเขาจะยกระดับไปเป็นโคตรทีมแบบที่โฆษณาไว้ได้หรือไม่“ผมเริ่มเรียนภาษาอิตาลีแล้ว และคำแรกที่เรียนรู้คือคาร์ดินัล กล่าวในงานแถลง ซึ่งความจริงจะเป็นไปตามที่เขาว่าหรือไม่ … เวลาเท่านั้นที่ให้คำตอบได้